โทรคมนาคม ธนาคาร รถยนต์ และพลังงาน ทุกบริษัทต่างต้องการเพิ่มโอกาสให้ธุรกิจของตนขยายตัวสูงสุด ครองส่วนแบ่งตลาดมากขึ้น และดึงคู่แข่งขันเข้ามาเป็นพันธมิตรร่วมชายคาเดียวกัน การควบบริษัท หรือที่เรียกว่า Amalgamation เกิดจากการรวมกันของสองบริษัท หรือมากกว่านั้น เมื่อควบบริษัทแล้วจะต้องจดทะเบียนบริษัทใหม่ขึ้นมา และกิจการบริษัทเดิมถือว่าเลิกโดยทันที การควบบริษัทนี้เป็นวิธีการหนึ่งใน การควบรวมกิจการ ซึ่งใช้เป็นกลยุทธ์เพื่อสร้างให้บริษัทใหญ่โตขึ้น มีศักยภาพทั้งทางธุรกิจ และการแข่งขัน โดยอาจมี การขายเข้าไปในตลาดที่มีอยู่เดิม หรืออาจจะเข้าสู่ตลาดใหม่ จากมุมมองทางด้านภาษี การควบบริษัทนี้จะให้ประโยชน์สูงสุด เพราะนอกจากจะได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้ นิติบุคคล ภาษีมูลค่าเพิ่มจากการโอนทรัพย์สินและหนี้สินอื่น ๆ แล้ว ยังได้รับการยกเว้นภาษีธุรกิจเฉพาะ ซึ่งปกติจะเรียกเก็บ จากบริษัทที่ประกอบธุรกิจธนาคาร หรือมีอสังหาริมทรัพย์ หมายความว่า บริษัทใหม่จะได้รับการยกเว้นค่าธรรมเนียมการ โอนอสังหาริมทรัพย์ เพราะในการควบบริษัทเป็นเสมือนการขอเปลี่ยนชื่อบริษัทเท่านั้น ขณะที่การรวมกิจการโดยวิธีการโอน กิจการทั้งหมอ หรือที่เรียกว่า Entire Business Transfer จะได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่กล่าวมาแล้วเหมือนกัน เว้นแต่ยังคงต้องชำระค่าธรรมเรียมการโอนอสังหาริมทรัพย์อยู่ อย่างไรก็ดี การควบบริษัทนี้ แม้บริษัทที่จดทะเบียนใหม่จะได้รับสิทธิประโยชน์ทางด้านภาษีตามประมวล รัษฎากรอยู่หลายประการ แต่ยังมีข้อด้อยอยู่บ้าง เช่น ก่อนที่บริษัทจะตัดสินใจควบบริษัทเข้าด้วยกันต้องนำมาขบคิด และวาง แผนให้ถ้วนถี่ว่า บริษัทใหม่อาจจะไม่ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีบางประเภทที่เคยได้รับอยู่ ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือ การที่บริษัทเก่ามีผลขาดทุนสะสมในทางภาษีอยู่ บริษัทใหม่จะไม่ได้รับโอนผล ขาดทุนสดสมในทางภาษีนั้น จึงสูญเสียผลขาดทุนสะสมเดิมที่จะนำไปใช้ เพื่อลดหย่อยภาษีได้ หรือในกรณีของ บริษัทที่เคยได้รับการลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลในภาษีที่บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ในระหว่างประกาศการลดอัตราภาษีก็จะไม่ได้รับสิทธิประโยชน์นี้อีกต่อไป ดังจะเห็นได้จากการควบบริษัท ที่ปรากฏเป็นข่าวในหน้าหนังสือพิมพ์ในปีที่ผ่านมานี้ของสองบริษัทซึ่งจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ทั้งคู่ การควบบริษัทของทั้งสองบริษัททำให้มีการจัดตั้งบริษัทใหม่ขึ้นมา บริษัททั้งสองแห่งนี้จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ในช่วงระยะเวลาที่กรมสรรพากรได้ลดอัตราภาษีให้ ตามพระราชกฤษฎีกา ว่าด้วยการลดอัตรารัษฎากร (ฉบับที่ 387 พ.ศ. 2544) แต่เมื่อมีการจดทะเบียนบริษัทใหม่อันเป็น ผลมาจากการควบบริษัทเมื่อเร็ว ๆ นี้ บริษัทใหม่ไม่ได้รับสิทธิในการลดอัตราภาษีเท่ากับสิทธิของบริษัทเดิม ซึ่งทำให้สูญเสียผลประโยชน์ทางภาษีบางส่วน การควบรวมกิจการด้วยวิธีต่าง ๆ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ทำให้ได้อำนาจส่วนแบ่งตลาดเพิ่มขึ้น กระจายสินค้าได้มากขึ้น หรือขยายเข้าไปในตลาดภูมิศาสตร์ที่แตกต่างกันเพื่อแสวงหาผลประโยชน์ทางการเงิน และการวิจัย และพัฒนาได้มากขึ้น เป็นแนวทางที่ผู้บริหารธุรกิจยุคใหม่ต้องให้ความสำคัญกับกลยุทธ์ธุรกิจที่แข่งขันรุนแรงมากขึ้นตลอด เวลา ผู้บริหารจึงน่าจะพิจารณาถึงประเด็นเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่จะช่วยองค์กรได้รับผลประโยชน์สูงสุด ไม่ควร ปล่อยให้สูญเปล่าไปเสียเฉย ๆ แม้ว่าการตัดสินใจในการควบรวมกิจการส่วนใหญ่จะให้ความสำคัญกับเหตุผลทางธุรกิจ โดยทำการเปรียบ เทียบผลเสียในทางธุรกิจเป็นหลัก แต่หากผู้บริหารทำความเข้าใจและศึกษาเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ ทางด้านภาษีอากร ดังที่กล่าวมาข้างต้นให้ชัดเจนก็จะเป็นแนวทางที่ช่วยให้ผู้บริหารสามารถชั่งน้ำหนักพิจารณาเปรียบเทียบได้ว่า วิธีการควบรวม กิจการแบบใดจะได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีอย่างใด และอาจจะต้องสูญเสียสิทธิทางภาษีอะไรไปบ้าง ด้วยเหตุนี้การเลือกใช้ วิธีการควบรวมกิจการที่เหมาะสมก็จะทำให้กิจการได้รับปะโยชน์ทั้งทางธุรกิจ และได้รับสิทธิประโยชน์ทางด้านภาษีตาม ประมวลรัษฎากรอีกด้วย จึงน่าจะได้มากกว่าเสีย |